วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9

วันพฤหัสบดี ที่ 22 เมษายน 2559  (เรียนชดเชย)


Knowledge



โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)

แผน IEP

- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอนและการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
- ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด 
- สามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
-ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคลเพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
-เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็กมีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
- การรวบรวมข้อมูล เช่น รายงานทางการแพทย์รายงานการประเมินด้านต่างๆ บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
- การจัดทำแผนได้แก่ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องกำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้นกำหนดโปรแกรมและกิจกรรมจะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การใช้แผน
- แผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
- ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
- ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
- ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
- อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

การประเมินผล 
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น

- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล

* การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม
   อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน*

การจัดทำ IEP




กิจกรรมวาดวงกลม เพื่อทายลักษณะนิสัย 












Evaluation


  Teacher :   เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาได้อย่างครบถ้วนและคลอบคลุม

   Friends:   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่


  Self:   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกทุกครั้งในการเรียน

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8

วันศุกร์ ที่ 22 เมษายน 2559

 Knowledge


การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


1.เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน 
2.ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด  
3.เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)

การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา

- เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด 
- เกิดผลดีในระยะยาว 
-เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
- แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล 
- (Individualized Education Program; IEP)
- โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน


การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
- การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
- การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
- การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)

การบำบัดทางเลือก

- การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
- ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
- ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
- การฝังเข็ม (Acupuncture)
- การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)


การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)

- การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies) 
- โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS) 
- เครื่องโอภา (Communication Devices) 
- โปรแกรมปราศรัย

Picture Exchange Communication System (PECS)




บทบาทของครู

  1. ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
  2.ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
  3.ให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
  4.ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง 

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

- เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
- การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

กิจกรรมการเล่น

- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
- ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง

- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
- คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
- เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ

ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
- ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
- เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริมครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น

ทักษะภาษา
- การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่

- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
- ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด”
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย

- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

การสร้างความอิสระ
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
- อยากทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่

หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
- ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
- “ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้ ” 

จะช่วยเมื่อไหร่
- เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
- หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
- เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
- การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
- ต่อบล็อก
- ศิลปะ
- มุมบ้าน
- ช่วยเหลือตนเอง

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง

Evaluation


  Teacher :   เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาได้อย่างครบถ้วนและคลอบคลุม

   Friends:   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่

  Self:   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกทุกครั้งในการเรียน


วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7

วันศุกร์ ที่ 1 เมษายน 2559

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย





การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

- เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (integrated Education หรือ Mainstreaming )

- การจัดการให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
- มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด้กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
- ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
- ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

การเรียนร่วมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
- การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)

ภาพกิจกรรมวาดดอกบัว




สิ่งที่เห็น : กลีบดอกบัวตรงกลางจะเป็นสีขาว ปลายๆดอกบัวจะเป็นสีชมพู หรือ สีชมพูเข้ม ตรงกลางดอกบัวจะมีเกสรเป็นสีเหลืองมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ก้านของดอกบัวจะเป็นสีเขียว ดอกบัวจะมีทั้งหมด 14กลีบและพื้นหลังของดอกบัวจะเป็นพื้นหลังสีดำและสีเทา



Evaluation


  Teacher :   เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาได้อย่างครบถ้วนและคลอบคลุม

   Friends:   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่

  Self:   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกทุกครั้งในการเรียน


วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6

วันศุกร์ ที่ 11 มีนาคม 2559

knowledge

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
(Children with Behavioral and Emotional Disorders)

- มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
- แสดงออกถึงความต้องการทำร้านตนเองหรือผู้อื่น
- มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
- เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้
- เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
- ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
- ความวิตกกังวล (Anxiety) ซื่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
- ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
- ปํญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต

การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)-ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์ 
- ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด- เอะอะและหยาบคาย
- หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
- ใช้สารเสพติด
- หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ

ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)- จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที- ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
- งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจได้ตลอดเวลา รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด


สมาธิสั้น (Attention Deficit)- มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
- หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น- เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย(Function Disorder)
- ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder)
- การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation) /การปฏิเสธที่จะรับประทาน
- พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
- มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
- ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
- การปฎิเสธที่จะรับประทาน
- รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
- โรคอ้วน (Obesity)

Evaluation


  Teacher :   ข้าสอนตรงเวลา อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาได้อย่างครบถ้วนและคลอบคลุม


   Friends:   ข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่

  Self:   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกทุกครั้งในการเรียน



วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5

วันศุกร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559

knowledge

 เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities) 

- เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability) 
- เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง- ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียนมีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย

สาเหตุของ LD
- ความผิดปกติของการทำงานของเสมอที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ ( เชือมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้ )
- กรรมพันธุ์

1. ด้านการอ่าน (Reading Disorder)
2. ด้านการเขียน (Writing Disorder)
3. ด้านการคิดคำนวณ (Mathematic Disorder)

ออทิสติก (Autistic) 


 "ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว"



ทักษะของเด็กออทิสติก



Autistic Savant (ออทิสติกอัจฉริยะ)

- กลุ่มที่คิดด้วยศักยภาพ (visual thinker)  จะใช้การการคิดแบบอุปนัย   (bottom up thinking)
- กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music,math and memory thinker) จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking)
ตัวอย่างเช่น

Iris Grace 



แดเนียล แทมเมต (Daniel Tammet)




Stephen Wilts





Evaluation

  Teacher :   ข้าสอนตรงเวลา อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาได้อย่างครบถ้วนและคลอบคลุม

   Friends:   ข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่

  Self:   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกทุกครั้งในการเรียน

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559




บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4


วันศุกร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559

knowledge

ประเภทของเด็กที่มีความบกพร่อง

เด็กที่มีความบกพร่องทางทางการการพูดและภาษา
( Children With Speech And Language Disoorders)

            เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด

1.ความบกพพร่องในด้านการปรับปรุงเสียง
- เสียงบางส่วนของคำขาดหายไป ''ความ '' เป็น '' คาม ''
- ออกเสียงของตัวอื่นแทนที่ถูกต้อง "กิน"  "จิน" กวาด ฟาด
- เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย "หกล้ม" เป็น หก- กะ- ล้ม
- เสียงเพี้ยนหรือแปล่ง "แล้ว" เป็น "แล่ว"

2.ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
 ( Speech Flow Disorders )
- พูดไม่ถูกต้องตามลำดับขั้นตอน
- การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง
- อัตราการพูดเร็วหรือช้าเกินไป
- จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ                    

3.ความบกพร่องของเสียงพูด
 ( Voice Disorders )
- ความบกพร่องระดับเสียง
- เสียงดังหรือค่อยเกินไป
- คุณภาพของเสียงไม่ดี            


ความบกพร่องทางภาษา หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูด
 และ / หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำ
1.การพัฒนาการทางภาษษช้ากว่าวัย ( Delayed Language )
- มีความยากลำบากในการใช้ภาษา
- ไม่สามารสร้างประโยคได้
2.ความผิดปกติทางการพูดและภาษษอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมองโดยทั่วไปเรียกว่าDysphasia หรือ Aphasia
 - อ่านไม่ออก ( Alexia )
- เขียนไม่ได้  ( Agraphia )

        Gerstmann's Syndrome
- ไม่รู้ชื่อนิ้ว ( Finger Agnosia )
- ไม่รู้ซ้ายขวา ( Allochiria )
- คำนวณไม่ได้ ( Acaiculia )
- เขียนไม่ได้ ( Agraphia )
- อ่านไม่ออก ( Alexia)

5.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
 ( Children With Physical And Health Impairments )



โรคลมชัก (Epilepsy)
- การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)    อาการเหม่อนิ่งเป็นเวลา 5-10วินาที
- ชักแบบรุนแรง (Grand Mal) เกิดขึ้นราว 2-5 นาที 
- ชักแบบ Partial Complex    ไม่เกิน 3 นาที
- อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)  เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก
- ลมบ้าหมู (Grand Mal) จะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น 

ซี.พี. (Cerebral Palsy)

- การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด 
- การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกัน 

กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
- spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
- spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
- spastic paraplegia อัมพาตครึ่งท่อนล่าง
- spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว


โปลิโอ (Poliomyelitis) 



- มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม 


Evaluation

  Teacher :   ข้าสอนตรงเวลา อธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาได้อย่างครบถ้วนและคลอบคลุม

   Friends:   ข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่

  Self:   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกทุกครั้งในการเรียน